วันนี้เริ่มต้นคาบเรียนด้วยอาจารย์เปิดตัวอย่างข่าวให้ดู และอธิบายอย่างลึกซึ้งด้วยคำว่า Type Design และคีย์เวิร์ดในการค้นหาของ Google เพื่อให้หาข่าวมาแปลได้อย่างถูกต้อง Typeface คือความหมายของคำว่า หน้าตาของตัวอักษร Type = การพิมพ์ หลังจากนั้นอาจารย์ก็บอกถึงเทอมนี้ว่าจะมีงานอะไรบ้าง ซึ่งจะมีงาน 2 ชิ้นใหญ่ในเทอมนี้ ระหว่างเทอมก็คืองานฝึกตนเอง ฝึกฝนเพื่อให้มีฝีมือที่ดีขึ้น โดยต้องทำ Letter ของแต่ละตัวอักษรก่อน ต้องเข้าใจในโครงสร้างและสัดส่วนของตัวอักษรต้นแบบ และสัปดาห์หน้าอาจารย์ให้ปริ้นงานที่เราทำ Letter และศึกษาสัดส่วนโครงสร้างของฟอนต์ ใส่มาในแฟ้มสะสมผลงาน ปริ้นขนาด A4 มาในทุกอาทิตย์เพื่อดูความคืบหน้า ฟอนต์ตระกูล UPC คือฟอนต์ที่มากับ windows และการทำ Research สืบค้นข้อมูลส่วนประกอบของฟอนต์ ว่าอักษรมีกี่ตัว ภาษาไทยกี่ตัว อังกฤษกี่ตัว อักขระพิเศษ ตัวเลข สระ ตำแหน่งอยู่ตรงไหนตาม unicode พอได้ตัวนึงเสร็จแล้วเราก็จะใช้วิธีการนี้ซ้ำๆ คือออกแบบและใส่ลงในตารางกริด ทุกคนจะต้องทำโครงสร้าง เพราะทุกคนต้องทำตัวอักษร จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซีเรียสมากๆ ที่ควรจะต้องทำ ถึงแม้ว่าจะทำตัวอักษแบบ Free hand ก็ต้องรู้สัดส่วนโครงสร้าง ถ้าไม่ทำทุกคนก็จะไม่เกิดความเข้าใจ เอาตัวมาตรฐานเข้ามาก่อน เช่น H h X x ก ฟู้ พยัญชนะไทยควรจะสูงกว่าพิมพ์เล็กของภาษาอังกฤษ เส้นระดับจะต้องอยู่ครึ่งนึงเป็นอย่างน้อย หรือ 1/3 เป็นอย่างน้อย แต่จะต้องเล็กกว่าตัวพิมพ์ใหญ่ โดยมีเรื่องของ serif ขึ้นมาอีก (เป็นตัวอักษรชนิดมีเชิง) สไตล์แบบนี้คืออะไร อาจารย์ให้ไปศึกษาเพิ่มเติม โดยบอกสัดส่วนอย่างละเอียด สัปดาห์หน้าจบไทย-อังกฤษ และอาจารย์ได้กล่าวถึงตัวอักขระพิเศษที่ชื่อว่าโคมูตร ๛ ซึ่งเป็นอักขระไทย สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจบประโยคข้อความ เป็นภาษาโบราณ เวลาจบโคลง กลอน จะมีโคมูตรกำกับอยู่ตอนท้ายเสมอ ซึ่งทุกวันนี้แทบไม่ได้ใช้กันแล้ว พบเห็นน้อยมาก ในส่วนของ unicode อักษรไทยนั้น อยู่ใน code 0E00-0E40F โดย 0E00 คือพื้นที่ว่าง เริ่มต้น ก.ไก่ ที่ 0E01 รูปอักขระส่วนใหญ่นั้นมาจากภาษาปารวะ (ภาษาอินเดียโบราณ) และตัวเขมร ซึ่งไทยนำมาปรับใช้ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ภาษาไทยมีชั้น 2 เช่น ไม้ไต่คู้อยู่ชั้นแรก สระมีเพื่องสระอา (า) ที่อยู่กึ่งกลางเหมือนตัวอักษร ภาษาเขียนโบราณ สระอี ( -ี) มักจะมีขีดอยู่ตรงการแทนที่จะอยู่ตรงท้ายเหมือนทุกวันนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น